วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2552

รูปร่างเครือข่าย


รูปร่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์

การเชื่อมต่อเครือข่ายลักษณะที่นิยมใช้กันนั้นมีอยู่ด้วยกัน 4 ลักษณะ ได้แก่

1. แบบดาว

เป็นลักษณะของการต่อเครือข่าย แต่ละตัวต่อรวมกันเข้าสู่ศูนย์กลางของสวิตซ์ เพื่อที่จะสลับตำแหน่งของเส้นทาง ข้อมูลในระบบ ดังนั้น โทโปโลยี แบบดาว คอมพิวเตอร์จะติดต่อกันได้ใน 1 ครั้ง ต่อ 1 คู่สถานีเท่านั้น เมื่อสถานีใดที่ต้องการจะส่งข้องมูลก็สามารถที่จะส่งข้อมูลไปยังศูนย์กลางสวิทซ์ก่อน เพื่อบอกให้ศูนย์กลาง สวิตซ์นั้นสลับตำแหน่งของคู่สถานีไปยังสถานีที่ต้องการติดต่อได้ด้วย ดังนั้นข้อมูลจึงไม่เกิดการชนกันเอง ทำให้การสื่อสารได้เร็วขึ้น เมื่อสถานีใดสถานีหนึ่งเสีย ทั้งระบบจึงยังคงใช้งานได้อยู่ ในการค้นหาข้อบกพร่องตามจุดที่เสียต่างๆนั้น จึงสามารถหาได้ง่ายตามไปด้วย แต่ก็มีข้อเสียที่ว่าต้องใช้งบประมาณสูง ในการติดตั้งครั้งแรก

ข้อดี
ติดตั้งสามารถที่จะดูแลได้ง่าย แม้ว่าสายที่เชื่อมต่อไปยังบางโหนดจะขาด โหนดที่เหลืออยู่ก็ยังคงจะสามารถทำงานได้อพยู่ ทำให้ระบบเน็ตเวิร์กยังคงสามารถทำงานได้อย่างเป็นปกติ การมี Central node อยู่ตรงกลางเป็นตัวเชื่อมระบบ ถ้าระบบเกิดการทำงานบกพร่องเสียหายขึ้น สามารถที่จะทำให้เรารู้ได้ทันทีว่าจะสามารถแก้ปัญหาที่ใดได้

ข้อเสีย
เสียค่าใช้จ่ายมาก ในทางด้านของเครื่องที่จะใช้เป็น central node และค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสายเคเบิลในสถานีงาน การขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นสามารถทำได้ยาก เพราะการขยายแต่ละครั้งจะต้องเกี่ยวเนื่องกับโหนดอื่นๆ ทั้งระบบ เครื่องคอมพิวเตอร์ศูนย์กลางก็มักที่จะมีราคาสูง

2. แบบวงแหวน

ถูกออกแบบให้ใช้ MAU ต่อรวมกันแบบเรียงลำดับเป็นวงแหวน แล้วต่อเข้ากับ คอมพิวเตอร์ PC ที่เป็น Workstation หรือ Server เข้ากับ MAU ใน MAU 1 ตัวจะสามารถต่อออกไปได้ถึง 8 สถานี เมื่อสถานีถัดไปนั้น รู้ว่าต้องรับข้อมูล แล้วจึงส่งข้อมูลกลับ เป็นการตอบรับ เมื่อสถานีที่จะส่งข้อมูลก็จะได้รับสัญญาณตอบรับ แล้วจึงส่งข้อมูลครั้งแรก แล้วก็จะลบข้อมูลออกจากระบบ เพื่อให้ได้ใช้ข้อมูลอื่นๆ ต่อไป ดังนั้นทุกสถานีบน โทโปโลยี วงแหวนจะได้ทำงานทั้งหมดซึ่งจะคอยเป็นผู้รับและผู้ส่ง ทั้งนี้ยังเป็น รีพีทเตอร์ในตัวอีกด้วย ข้อมูลที่ผ่านไปแต่ละสถานีนั้น ข้อมูลที่เป็นตำแหน่งที่อยู่ตรงกับ สถานีใด สถานีนั้นจะรับข้อมูลเก็บไว้ แต่จะไม่สามารถที่จะลบข้อมูลออกจากระบบได้ ก็เลยยังคงส่งข้อมูลต่อไป ดังนั้นผู้ส่งข้อมูลครั้งแรกเท่านั้นที่จะเป็นผู้ลบข้อมูลนั้นออกจากระบบได้ ครั้นเมื่อสถานีส่ง TOKEN มาถามสถานีถัดไปแล้วแต่ไม่ได้รับการตอบกลับ สถานีส่ง TOKEN จะทวนข้อมูลซ้ำเป็นครั้งที่สอง ถ้ายังคงไม่ได้รับการตอบกลับอีก จึงส่งข้อมูลออกไปได้ เหตุการณ์ดังกล่าวนี้ เป็นอีกแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาที่ไม่ให้การทำงานของระบบหยุดชะงัก ดังนั้นสถานีใดที่เกิดการเสียหาย ระบบจึงยังคงสามารถทำงานต่อไปได้

ข้อดี
ใช้เนื้อที่ในการติดตั้งน้อย คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์กมีโอกาสที่จะส่งข้อมูลได้อย่างทัดเทียมกันข้อเสีย หากโหนดใดโหนดหนึ่งเกิดปัญหาขึ้นจะค้นหาได้ยากว่าต้นเหตุอยู่ที่ไหน และวงแหวนจะขาดออก

3. แบบบัส
เป็นลักษณะของการนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาเชื่อมต่อ เป็นระบบเครือข่าย ด้วยสายเคเบิลยาวต่อเนื่องกันไปเรื่อย ๆ โดยมีคอนเน็คเตอร์ในการเชื่อมต่อโดยลักษณะของการส่ง-รับข้อมูล จะเป็นการส่งข้อมูล ทีละเครื่องในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ เท่านั้นจากนั้นเครื่องปลายทาง ก็จะส่งสัญญาณกลับมา และในการเชื่อมต่อในระบบ Bus นี้จะต้องมี T-Connector ที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมต่ออยู่ด้วย และก็จะมี Terminator เป็นอุปกรณ์ปิดปลายสายสัญญาณ ของทั้งระบบ ซึ่ง Terminaltor จะคอยเป็นตัวดูดซับสัญญาณไม่ให้มีการไหลกับไป กวนระบบสัญญาณอื่นในสายเดียวกัน ซึ่งโดยทั่วไปนั้น จะมีค่าความต้านทานประมาณ 50 โอห์ม บางครั้งถ้าไม่มี Terminator เราสามารถให้ตัว R ทั่วไปที่ใช้ในอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์ขนาด 50 โอห์มแทนได้

ข้อดี

สามารถที่จะขยายระบบได้ง่าย เสียค่าใช้จ่ายในการวางสายเคเบิลน้อย

ข้อเสีย
อาจเกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย เนื่องจากทุกเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อยู่บนสายสัญญาณเพียงเส้นเดียวกัน ดังนั้นหากมีการขาดที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งแล้ว ก็จะทำให้เครื่องอื่นทั้งหมดในระบบไม่สามารถที่จะใช้งานได้ การตรวจหาโหนดที่เสีย ทำได้ยากเนื่องจากจะมีคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดียวเท่านั้นที่สามารถส่งข้อความออกมาบนสายสัญญาณ ดังนั้นถ้ามีเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากๆ อาจทำให้เกิดการคับคั่งของเน็ตเวิร์ก ซึ่งจะทำให้ระบบช้าลงได้

4. แบบผสม
เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ผสมผสานระหว่างรูปแบบต่างๆ หลายแบบเข้าด้วยกัน คือจะมีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ย่อย หลายๆ เครือข่ายเพื่อให้เกิด ประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงานเครือข่ายบริเวณกว้างเป็นตัวอย่างเครือข่ายผสมที่พบเห็นกันมากที่สุด เครือข่ายแบบนี้จะเชื่อมต่อเครือข่ายเล็ก-ใหญ่ หลากหลายแบบเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายเดียว ซึ่งเครือข่ายที่ถูกเชื่อมต่ออาจจะอยู่ห่างกันคนละจังหวัด หรือ อาจจะอยู่คนละประเทศก็ได้

การเข้าถึงระยะไกล
คุณสมบัติเด่นอย่างหนึ่งของเครือข่ายแบบผสมก็คือ ผู้ใช้สามารถเชื่อม ต่อกับเครือข่ายจากระยะไกล เช่น อยู่ที่บ้าน หรือ อยู่ภาคสนามได้ ในการ เชื่อมต่อก็จะมีการต่อคอมพิวเตอร์สั่งโมเด็มหมุนสัญญาณให้วิ่งผ่านสายโทรศัพท์ไปเชื่อมต่อกับเครือข่ายหลังจากการเชื่อมต่อผู้ใช้สามารถที่จะเข้าไปเรียกใช้ข้อมูลได้สมือนกับว่ากำลังใช้เครือข่ายที่บริษัทการบริหารเครือข่ายเนื่องจากเครือข่ายผสมเป็นการผสมผสานเครือข่ายหลายแบบเข้าด้วย กัน ซึ่งแต่ละเครือข่ายก็มีรายละเอียดทางเทคนิคแตกต่างกันไป ดังนั้น การบริหารเครือข่ายก็อาจจะยากกว่าเครือข่ายแบบอื่น ๆด้วยเหตุนี้ บริษัทที่มีเครือข่ายผสมขนาดใหญ่ของตัวเองก็มักจะตั้งแผนกที่ทำหน้าที่ดูแลและบริหารเครือข่ายนี้โดยเฉพาะ ค่าใช้จ่ายโดยปกติเครือข่ายแบบผสมจะมีราคาแพงกว่าเครือข่ายแบบต่างๆ เพราะ เครือข่ายแบบนี้เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ และมีความซับซ้อนสูง นอกจากนี้ยังต้องมีการลงทุนเกี่ยวกับระบบรักษาความปลอดภัยมากกว่า เครือข่ายอื่นอีกด้วย เนื่องจากเป็นการเชื่อมต่อระยะไกล